ความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็วกล่าวกันว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่าการปฏิวัติมาแล้วสองครั้งที่มนุษย์รู้จักใช้ระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่งเพื่อทำการเกษตร

ต่อมาเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากที่เจมส์วัตต์ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ มนุษย์รู้จักนำเอาเครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต และช่วยในการสร้างยานพาหนะเพื่องานคมนาคมขนส่ง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาเป็นสังคมเมือง และเกิดรวมกันเป็นเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ

ในช่วง พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมาก เกิดการประยุกต์งานด้านต่าง ๆ เช่น ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต การจองตั๋ว การซื้อสินค้า การติดต่อส่งข้อมูล เช่น โทรสาร (facsimile) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail )

ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายให้วิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 รายวิชาคือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก

ต่อมาพ.ศ. 2532 และพ.ศ. 2541 ก็เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมหลักสูตรทางด้านคอมพิวเตอร์อีกหลายวิชา และจัดกลุ่มอยู่ในวิชาอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันมีโรงเรียนมัธยมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเปิดการเรียนการสอนทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น มีความจำเป็นเพียงไรที่จะต้องให้เยาวชนไทยเรียนรู้คอมพิวเตอร์ เมื่อมีวิชาพื้นฐานอื่น ๆ มากมายที่ต้องจะเรียน เหตุผลสำคัญสำหรับตอบคำถามนี้คือปัจจุบันความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีข้อมูลมากขึ้น

กิจวัตรในชีวิตประจำวันของมนุษย์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้นจนดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ทางด้านการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม และทางด้านพาณิชยกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เริ่มจากการใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือ พลังงานที่ขับเคลื่อนเครื่องจักรก็มาจากพลังงานน้ำ พลังงานไอน้ำ และเปลี่ยนมาเป็นพลังงานจากน้ำมันขับเคลื่อนเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าแทน ต่อมาการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีกโดยเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานทีละขั้นตอนมาเป็นการทำงานระบบอัตโนมัติ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กลไกการควบคุมอัตโนมัติทำงาน เช่น การดำเนินงานผลิต การตรวจสอบ การควบคุม ฯลฯ การทำงานเหล่านี้อาศัยระบบการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์

อุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลา ในระยะปีหรือสองปีข้างหน้ายากที่จะคาดเดาว่าจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรใหม่ขึ้นมาอีกบ้าง ทั้งนี้เพราะขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสูงมาก โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer )

มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่สามกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดใหม่นี้ได้แก่การพัฒนาการทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์ ในอนาคตอันใกล้ผู้จัดการเพียงคนเดียวอาจทำงานทั้งหมดโดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม ทำการควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ และให้หุ่นยนต์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอีกต่อหนึ่ง

ในระดับประเทศ ประเทศไทยสั่งเข้าสินค้าเทคโนโลยีระดับสูงปริมาณมากจึงต้องซื้อเทคนิควิธีการ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามามากตามไปด้วย ขณะเดียวกันเรายังขาดบุคลากรที่จะใช้เครื่องจักรเครื่องมือเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ การสูญเสียเงินตราเนื่องจากสาเหตุนี้จึงเกิดขึ้นมิใช่น้อย หลายโรงงานยังไม่กล้าใช้เครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยี ใหม่ เพราะหาบุคลากรในการดำเนินการได้ยาก แต่ในระยะหลังค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น และการแข่งขันทางธุรกิจมีมากขึ้น จึงตกอยู่ในสภาวะจำยอมที่จะเอาเครื่องมือเหล่านั้นเข้ามา เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวให้ผลผลิตที่ดีกว่าของเดิม และมีราคาต้นทุนต่ำลงอีกด้วย

ในหลักการเป็นที่ยอมรับว่า ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเกือบทุกแขนงมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ระบบการผลิตส่วนใหญ่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์แทรกเข้ามาเกือบทุกกระบวนการ ตั้งแต่การควบคุม การขนส่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การวัดและการบรรจุหีบห่อ ตลอดถึงการใช้เครื่องทุ่นแรงบางอย่างเครื่องมือที่ใช้วัดเกือบทุกประเภทมักมีไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การวัดอุณหภูมิ วัดความดัน วัดความเร็วการไหล วัดระดับของเหลว วัดปริมาณค่าที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพ

ในยุควิกฤตการณ์พลังงาน หลายประเทศพยายามลดการใช้พลังงาน โรงงานพยายามหาทางควบคุมพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อจะลดค่าใช้จ่ายลง จึงนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุม เช่น ควบคุมการเดินเครื่องให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณการใช้พลังงานควบคุมการจัดภาระงานให้เหมาะสม รวมถึงการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วยในยุควิกฤตการณ์พลังงาน หลายประเทศพยายามลดการใช้พลังงาน โรงงานพยายามหาทางควบคุมพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อจะลดค่าใช้จ่ายลง จึงนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุม เช่น ควบคุมการเดินเครื่องให้เหมาะสม ควบคุมปริมาณการใช้พลังงานควบคุมการจัดภาระงานให้เหมาะสม รวมถึงการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย


แหล่งข้อมูล http://www.schoolsr.com/Test/index10.html http://202.29.15.22/information/object.php


ดูอะไรกันจ้ะ

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวโน้มของเทคโนโลยี2

จากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของการศึกษาทางไกลทำให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกล ดังต่อไปนี้
            1. แนวโน้มด้านวิทยุเพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านวิทยุเพื่อการศึกษา จะมีสถานีวิทยุกระจายเสียง ที่ผู้เรียนสามารถสอบถามอาจารย์ผ่านทาง E-Mail ได้ สถานีวิทยุกระจายเสียงจะต่อกับระบบ Internet Radio เพื่อใช้ร่วมกันได้ทุกพื้นที่ เทปคำบรรยายสรุปจะมีบทบาทร่วมกับวิทยุการศึกษามากขึ้น ม้วนเทปที่ใช้บันทึกรายการวิทยุจะเปลี่ยนเป็นแผ่น CD สถานีวิทยุจะต่อเข้ากับเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN)
            วิทยุเพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกล ของทุกหน่วยงานการศึกษา ทั้งหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านวิทยุการศึกษาตลอดจนเพิ่มงบประมาณด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น
            2. แนวโน้มทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาระบบโทรทัศน์จะต่อเข้ากับระบบ Internet Television และเปลี่ยนจากระบบ Analog มาเป็นระบบ Digital Television (DTV) โทรทัศน์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ จะเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกันจะทำให้การเรียนการสอนไม่มีขีดจำกัดในเรื่องระยะทางและเวลา ระบบโทรทัศน์จะเข้าสู่ระบบ Internet Television สามารถจัดการเรียนการสอนในระบบ Course on Demand โดยอาศัย Cable Television Network และระบบโทรทัศน์จะใช้ Band Width ต่ำเพื่อประหยัดด้านทรัพยากรความถี่ วัสดุอุปกรณ์ด้านโทรทัศน์การศึกษาจะเป็นลักษณะสื่อประสมเป็นการใช้สื่อแบบผสมผสานนำเสนอให้ผู้เรียนรู้ได้กว้างขวางและเข้าใจง่ายโดยจัดเป็นรูปของสื่อสำเร็จรูป มีการใช้ชุดการเรียนแบบ Interactive Television มีการนำอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ DVD (Digital Video Disk) มาใช้ร่วม เครื่องรับโทรทัศน์จะนิยมใช้จอภาพขนาด 29 นิ้วขึ้นไป และใช้ร่วมกับเครื่องเล่น Video Compact Disc และมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณของระบบ Cable Television
            โทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกลอย่างที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนโยบายในการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทางด้านโทรทัศน์การศึกษา จัดงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ร่วมกันหน่วยงานของเอกชนและหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อจัดระบบโทรทัศน์การศึกษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและให้มีศูนย์โทรทัศน์เพื่อการศึกษาเกิดขึ้นตามสาขาวิทยบริการต่าง ๆ
            3. แนวโน้มทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา วิธีการของการประชุมทางไกลจะใช้ผ่านดาวเทียมและสายโทรศัพท์ที่เป็นระบบดิจิตอล และใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการประชุมทางไกลจะมีบทบาทมากในการศึกษาอบรม สัมมนา และการจัดการเรียนการสอน เป็นกลุ่มย่อย เป็นกลุ่มใหญ่ หรือมวลชน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ทำให้สามารถรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะเปลี่ยนเป็นแนว Any Time / Anywhere ซึ่งในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัย บุคลากรของมหาวิทยาลัยจะพร้อมเข้าสู่ระบบ E-University จะมีการนำระบบโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่มาประยุกต์ใช้กับระบบการสอนทางไกล การขยายเครือข่ายทำได้ง่ายและประหยัด เทคโนโลยีบีบอัดสัญญาณทำให้ลดขนาดของสัญญาณสื่อสารภาพและเสียงจะมีประสิทธิภาพสูง และมีการจัดตั้งสถานีการสื่อสารทางไกลระบบ 2 ทางเพื่อการศึกษาบนเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) และอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น